วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

เเนะนำตัว





นางสาวพัชรีญา เชื้อเเดง
นักศึกษาชั้นปีที่1
 รหัสนักศึกษา 581758044
วิชาเอก เเพทย์เเผนไทยบัณฑิต 
คณะ วิทยาลัยการเเพทย์พื้นบ้านเเละการเเพทย์ทางเลือก 
เลขที่66    Section:  AD 

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา


ส้มเกลี้ยงฉ่ำ น้ำตกงาม 
โป่งขามขลัง วังหินอ่อน 
(คำขวัญอำเภอเถิน)



อำเภอเถิน (คำเมืองLanna-Thoen.png) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดรองจากอำเภองาว


อำเภอเถินมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดตาก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่เป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาก่อนจะถึงเมืองลำปาง และเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพกรุงศรีอยุธยา บางคราวก็ตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรล้านนา บางคราวก็ขึ้นกับพม่า เวลามีศึกสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า เมืองเถินจึงเป็นเส้นทางผ่านในการเดินทัพ เนื่องจากเมืองเถินนั้นเป็นแค่เมืองเล็กไม่มีกำลังที่จะต้านทัพที่ขอผ่านได้ จึงต้องยอมให้ทั้งกองทัพอยุธยาและพม่าเดินผ่าน ชาวเมืองเถินได้รับความเดือดร้อนจากศึกสงคราม ด้วยกองทัพที่เดินผ่านต่างสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวเมือง ดังนั้นชาวเมืองเถินจึงได้ทิ้งเมืองหนีเข้าไปจนหมดสิ้น ทิ้งเมืองให้กลายเป็นเมืองร้างในช่วงเวลาระยะหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วีรกษัตริย์ไทยทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จและขับไล่ทหารพม่าพ้นจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว และมีพระราชดำริจะยกทัพขับไล่พม่าที่ครองเมืองเชียงใหม่อยู่ ประกอบทั้งมีเจ้านายล้านนาไทย มีพระเจ้ากาวิละเป็นปฐม ได้รวบกำลังเข้าภักดีกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยหยุดเดินทัพเพื่อระดมพลกำลังที่เมืองเถิน แล้วค่อยตีทยอยตีเมืองขึ้นที่พม่าปกครอง ตั้งแต่ลำปาง ลำพูน จนกระทั่งนครเชียงใหม่ ในที่สุดพระองค์ก็ได้ตีทัพพม่าจนถอยพ่ายออกไปจากแผ่นดินล้านนาได้สำเร็จ เมืองเถินจึงมิได้เป็นทางผ่านของกองทัพอีก



ต่อมาเมื่อถึงแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสถาปนาพระเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่พระองค์ที่ 1 และได้ทยอยผู้คนที่หนีภัยสงครามรวมทั้งข้าต่างเมืองที่ได้เทครัวจากการทำศึกสงครามมาอยู่ในเมืองเถิน มีผู้คนมาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเมืองหนึ่งของล้านนาและเมืองลำปางตราบเช่นทุกวันนี้



เครดิตข้อมูล : https://th.m.wikipedia.org/wiki/อำเภอเถิน

ที่ตั้งอาณาเขต

เมืองเถินจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีร่องรอยของริเวณ                            

อำเภอเถินตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวเมืองลำปาง 90 กิโลเมตร ตามถนนพหลโยธินสายลำปาง-ตาก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้



เครดิตข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยว




  • วัดภูเนรศ เป็นโบราณสถาน ที่เชื่อได้ว่าเป็นพลับพลาที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เมื่อครั้งนำทัพสยามไปตีกรุงอังวะ ตั้งอยู่ที่ ถ.พหลโยธิน ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง
  • แก้วโป่งข่ามยักษ์ แห่งวัดบ้านนาไร่ ที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอเถินโดยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตั้งอยู่ที่ บ้านนาบ้านไร่ ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง

  • โบสถ์ไม้สักทองหลังงาม มุมสูงจากจุดชมรอยพระพุทธบาท วัดถ้ำสุขเกษมสวรรค์ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเถิน ตั้งอยู่ที่ บ้านแม่เติน ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง
  • น้ำตกแม่วะ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วะบ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วะ บริเวณโดยรอบของน้ำตกแม่วะประกอบไปด้วยภูเขาสูงชัน มีดอยแปลหลวงเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกนี้ และจะไหลลงสู่แม่น้ำวังในที่สุด น้ำตกแม่วะประกอบไปด้วยน้ำตกชั้นต่าง ๆ ทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีความงามแบบต่าง ๆ กัน มีทางเดินขึ้นไปถึงแค่น้ำตกชั้นที่ 8 สภาพเส้นทางระหว่างน้ำตกชั้นที่ 1-4 ระยะทาง 700 เมตร เดินได้สะดวก จากนั้นทางเริ่มสูงชันขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 8 รวมระยะทาง 2.2 กิโลเมตร สำหรับน้ำตกชั้นที่ 9 มีชื่อว่า "ตาดหลวง" มีความสูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนหน้าผาจากน้ำตกชั้นที่ 8 ขึ้นไปอีกไกลจึงจะถึง การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เมื่อผ่านอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ไปถึงประมาณกิโลเมตรที่ 500 จะมีทางแยกเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ผ่านทางแยกนี้ไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.1 (น้ำตกแม่วะ) น้ำตกอยู่ห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร นอกจากนี้ยังมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นทางเดินขึ้นเขาผ่านป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ แล้วเดินขึ้นสันเขาผ่านจุดชมทิวทัศน์ไปจนพบกับน้ำตกชั้นที่ 8 รวมระยะทางประมาณ 3.8 กิโลเมตร เหมาะสำหรับการเดินชมป่าเปลี่ยนสีในช่วงฤดูแล้ง กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมทิวทัศน์ เที่ยวน้ำตก ติดต่อขอข้อมูลได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 52230


  • อ่างเก็บน้ำแม่มอก (ตั้งอยู่ หมู่ที่7 บ้านท่าเกวียนตำบลเวียงมอก) มีเนื้อที่ถึง 10,000 ไร่ กว้าง 2 กม. สันเขื่อนยาว 1.9 กม. เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำแม่มอก เป็นอ่างแบบเขื่อนดิน (ทำนบดิน) มีทางระบายน้ำล้นกว้าง 45 เมตร มีท่อส่งน้ำ 3 แห่ง ส่งน้ำให้กับอำเภอทุ่งเสลี่ยม และแปลงอพยพ ความจุของอ่างที่ระดับน้ำเก็บกัก 96 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุที่ระดับน้ำนองสูงสุด 138 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค 2 จังหวัด คือ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย และพื้นที่ท้ายอ่าง 3 หมู่บ้าน ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในฤดูฝนเกณฑ์เฉลี่ย 45,000 ไร่ ในฤดูแล้ง 2,000 ไร่ บรรยากาศเป็นธรรมชาติ การเดินทางสะดวกลาดยางตลอดสายถึงอ่างเก็บน้ำ ตลอดเส้นทางท่านจะได้สัมผัสบรรยากาศร่มรื่นเขียวชอุ่มด้วยต้นไม้ตลอดทาง ระยะทางแค่ 50 กม. จากปากทางแยกที่อำเภอเถิน บริเวณอ่างมีบ้านพักรับรองไว้บริการ มีแพบริการนำเที่ยวชมบรรยากาศบริเวณอ่างเก็บน้ำ
ตั้งอยู่ที่ ถ.เถิน-สวรรคโลก บ้านท่าเกวียน ต.เวียงมอก อ.เถิน จ.ลำปาง



เเนะนำเเหล่งกำเนิดของน้ำตกเเม่วะ 



เครดิตข้อมูล
http://www.thoenpost.com/ab.thoen/history%20vcd.html.

วัฒนธรรมเเละการดำเนินชีวิต


วัฒนธรรมการกิน

         ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน  คือ  กินข้าวเหนียวและปลาร้า  ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า  ข้าวนิ่งและฮ้า  ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม  ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว  เป็นต้น 



วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น

          ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่  ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน





วัฒนธรรมการแต่งกาย

          การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น


 สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม


         ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว" "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ 
     ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอ




เครดิตข้อมูล 


อาหารพื้นบ้าน



         ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น    น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล  ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน  ชื่อต่าง ๆ เช่น  แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน





1.ไส้อั่ว  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้
2. น้ำพริกหนุ่ม คือพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ




3.น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส



4. แคบหมู  คือแคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม




5. แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกง




••สาธิตการทำเเคบหมู••







เครดิตข้อมูล